หวายตามธรรมชาติ เป็นพืชทนแล้งได้ดี ไม่ต้องรดน้ำพรวนดิน หรือใส่ปุ๋ยใดๆ ก็เจริญเติบโตได้ ศัตรูพืชรบกวนน้อย มีอายุยืนมากกว่า ๑๐ ปี แตกหน่อได้ตลอดปี หวายยอดอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด ถ้าไม่ตัดยอดหวายปล่อยให้เลื้อยเป็นเครือยาว เกิดเป็นเส้นหวาย
หวายในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคใต้ มีมากกว่า ๔๐ ชนิด มี ๖ สกุลด้วยกัน แต่ที่พบมากที่สุดคือสกุลคาลามีส หวายไทยที่พบมาก ได้แก่ หวายกำพวน หวายขี้เสี้ยน หวายน้ำ และหวายเดาใหญ่ ซึ่ง ๓ ชนิดแรกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก
เส้นหวาย นำมาใช้ประโยชน์ในการจักรสาน และนิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จึงก่อให้เกิดการสร้างงานให้กับชาวชนบท ปัจจุบันผลผลิตจากป่าเริ่มขาดแคลน โครงการหวายจึงได้จัดตั้งขึ้น ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมพันธุ์ ศึกษาการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ที่ค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปปลูกสร้างป่าหวายในอนาคต
ลักษณะทั่วไป
แหล่งพื้นที่อยู่อาศัย
วงจรชีวิต
แนวทางในการปลูกหวาย
การปลูกสวนป่าหวาย
ศัตรูของหวาย
หวายที่พบได้ในประเทศไทย
|