

"เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรกรแต่ไรแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มาจากการสร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญ และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ"
(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๗)

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ การที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้าทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่าง ๆ ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อน ไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินแลพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา ฯลฯ และสัตว์ปีก ทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่าย และไม่สลับซับซ้อนซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญคือ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูและต่าง ๆ นั้น จะต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่พระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อนเป็นอันแรก เช่น ข้าว พืช ผัก ผลไม้ ฯลฯ
แนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามแน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเกิดความเสียหายง่ายเนื่องจากความแปรปรวนของตลาด และความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทางออกก็คือ เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาพเกษตรเช่น การอุตสาหกรรมในครัวเรือน ดังเช่นในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว