สมัยก่อน ตำบลโนนดินแดงเป็นสถานที่ซึ่งมีคนไทยซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายแดน
ไทย-กัมพูชา อพยพไปอยู่กันมากเนื่องจากผลของสงคราม
มีสภาพเป็นอยู่ที่แร้นแค้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือราษฎร
นอกจากสวัสดิการทางด้านต่าง ๆ แล้ว ได้มีการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อรับซื้อผลผลิตการเกษตร
ได้แก่ มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อนในราคาประกันจากเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์
นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และศรีสะเกษ

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
โรงงานแห่งนี้เริ่มดำเนินการในปีพ.ศ. ๒๕๑๘
ทำหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของโครงการหลวงโดยเฉพาะผลผลิตที่ล้นตลาด
ซึ่งในระยะแรกนั้นประสบปัญหาสตรอเบอรี่ล้นตลาด
จึงได้ศึกษาการนำมาแปรรูปเป็นแยมสตรอเบอรี่
นอกจากนี้ยังหน้าที่แปรรูปผลผลิตจากโครงการหลวงภายใต้ตรา
"ดอยคำ" และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ก่อนที่จะมอบหมายให้มีการดำเนินการด้านการตลาดและการผลิตจริง
ปัจจุบันโรงงานหลวง
๔ แห่งแรก ได้รวมกันจัดตั้งเป็น "บริษัทดอยคำอาหารสำเร็จรูป"
เมื่อครั้งที่มีการจัดตั้งมูลนิธิโครงการหลวงขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ
พระราชทาน พระราชดำริให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปปรับเปลี่ยนสถานภาพจากเดิมมาเป็นรูปบริษัท
โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหุ้นส่วนใหญ่
ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมดำเนินงานแบบทันสมัย
สามารถพึ่งตนเองในเชิงธุรกิจในสภาวะปัจจุบันได้
ผลิตภัณฑ์จากโรงงานอาหารหลวง

ผลิตภัณฑ์จากโรงงานอาหารหลวงที่สำคัญได้แก่
ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศต่าง
ๆ ได้แก่ มะเขือเทศเข้มข้น ซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศปอกผิว
น้ำมะเขือเทศ และมะเขือเทศผง ข้าวโพดฝักอ่อนในน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง
หน่อไม้มะละกอแช่อิ่มแห้ง เห็ดกระป๋อง แป้งถั่วเหลือง
และน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จากโรงงานหลวงจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อ
"ดอยคำ" ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปตรา
"ดอยคำ" ได้ส่งออกไปขายยังต่างประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากและได้รับรางวัล
Thai Expo Award ๑๙๘๘ ให้เป็นสินค้าไทยส่งออกดีเด่น
ในสาขาผัก ผลไม้สด และผลไม้กระป๋อง จากกรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา|โรงงานอาหารสำเร็จรูป|โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อุตสาหกรรมเกษตรอันเนื่องมาจาก
พระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว