ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะทรงผนวช ด้วยทรงพระราชดำริว่า พระพุทธ
ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่ประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและทาง
ปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในระหว่างที่ทรงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผลและสัจจธรรม แม้ผู้ใดจะวิจารณ์
ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ก็จะไม่เสื่อมถอยในความนิยมเชื่อถือ ทั้งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมอีก
โสดหนึ่งด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เสร็จการพระราชพิธีทรงผนวชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนัก
ปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จ
ราชการ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และใน
พุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้แทนองค์การศาสนาและผู้แทนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาผกาภิรมย์ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๒
"...คนเราต้องมีศาสนา คือ ความคิดหรือสิ่งที่คิดประจำใจอันเป็นแนวทางปฏิบัติในใจประจำตัวและต้องมีการศึกษา คือ
ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในด้านจิตใจ ทั้งในด้านวัตถุ เพื่อประกอบกับตัว เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่จะ
แยกกันไม่ได้..."
|สรรพศิลปศาสตราธิราช | สาขารัฐศาสตร์|