พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านรัฐศาสตร์ อันเป็นคุณ
ประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติและประชาชนไทยเป็นเอนกประการ ตลอดระยะเวลาการครองสิริราชสมบัติทรงปกครองประเทศสมดังพระบรมราช
ปณิธานของพระองค์ที่ว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" หัวใจของสถาบันพระมหา
กษัตริย์
ไทยคือ ภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชน ในการปกครองประเทศชาติและประชาชนให้มี
ความมั่นคง ปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตที่ดีมีความสงบสุขพระองค์ทรงตั้งอยู่ในหลักจริยธรรมแห่งการปกครองที่สถาบัน
พระมหากษัตริย์ยึดถือปฏิบัติมา ทรงเป็นผู้ปกครองที่เต็มไปด้วยภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศชาติและประชาชน
ประชาชนชาวไทยทั้งมวลต่างประจักษ์แจ้งในใจว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติตามพระบรมราชปณิธานด้านรัฐประศาสโนบายอย่าง
เพียบพร้อม ไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่น้อยนิด
พระราชกรณียกิจตามจารีตประเพณี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงปกครองประเทศโดยธรรมของพระมหากษัตริย์ เพื่อความ
ถูกต้อง สุจริต และยุติธรรม ตามจารีตประเพณีของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ได้ดำรงอยู่คู่ไทยมาเป็นระยะเวลาช้านาน ธรรมของ
พระมหากษัตริย์ที่พระองค์ทรงยึดเป็นหลักในการปกครองได้แก่ ทศพิธราชธรรม ๑๐ จักรวรรดิวัตร ๑๒ และ ราชสังคหวัตถุ ๔
พระราชกรณียกิจในฐานะทรงเป็นองค์พระประมุขทางการเมืองการปกครองในปัจจุบันสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นหลักชัยครองใจประชาราษฎร์ทางการเมืองการปกครองสมัย
ใหม่ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ และทรงมีพระราชดำริทางการเมืองการปกครองในช่วงแห่งการครองราชย์ของ
พระองค์ ดังนี้
๑. พระราชดำริด้านการเมืองการปกครอง
หลักการสำคัญในการเมืองการปกครองตามแนวพระราชดำริดังปรากฏในพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทในโอกาส
ต่าง ๆ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ประกอบด้วยหลักการด้านการเมืองการปกครอง วิธีการปกครอง และคุณสมบัติของผู้ปกครอง
๒. พระราชภาระในการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็น ศูนย์รวมจิตใจทางการเมืองการปกครองของปวงชน
ชาวไทย ทรงดำรงฐานะเป็นองค์พระประมุขของประเทศ ทรงดำรงฐานะจอมทัพไทย ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ภายในกรอบแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แต่ทรงอยู่เหนือการเมือง และทรงเป็นกลางทางการเมือง พระราชอำนาจของพระองค์ แม้ว่าจะได้รับการกำหนดไว้ตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญก็ตาม แต่พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในตามความเป็นจริงมีมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่เคารพสักการะบูชาสูงสุดของประชาชนชาวไทย ทรงเป็นผู้
นำทางการเมืองการปกครองที่เปี่ยมด้วยพระบารมี ดังนั้น พระราชอำนาจของพระองค์จึงเป็นพระราชอำนาจที่เกิดจากพระบารมี
โดยแท้ ความข้อนี้จะเห็นได้จากในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติการณ์ และไม่มีผู้ใดสามารถเข้าแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่ง
พระบารมี ปัญหาจะคลี่คลายกลับคืนสู่สภาวะปรกติโดยเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ใจเสมอ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยที่กว้างขวางไพศาล มีพระเมตตาประดุจแม่น้ำใหญ่ ชโลมดวงใจของ
ทวยราษฎร์ให้สดชื่นอยู่เสมอ ในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤติการณ์ พลังแห่งพระบารมีของพระองค์เปรียบเสมือนแม่เหล็กใหญ่ที่ดึงดูด
ให้ความขัดแย้งหลุดออกจากกันระหว่างฝ่ายที่เป็นคู่ความขัดแย้ง บ้านเมืองกลับสงบเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง ด้วยพระปรีชาและ
พระเมตตาบารมีของพระองค์ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์เดือน พฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งเป็น
ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
๓. พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านนโยบายสาธารณะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์อย่างยิ่ง ทรงเล็งเห็นว่ารากฐาน
สำคัญของบ้านเมือง คือประชาชน จึงเสด็จพระราชดำเนินออกไปเพื่อทรงรับรู้ทุกข์ และปัญหาของประชาชนด้วยพระเนตร
พระกรรณของพระองค์เอง สิ่งใดที่เป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร พระองค์ได้ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจดังกล่าว หรือพระราชทาน แนวพระราชดำริด้านต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย
ด้านการพัฒนา นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านการศึกษา นโยบายด้านศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านการป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาจราจร เป็นต้น พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านนโยบายสาธารณะดังกล่าว เป็นผลให้เกิดโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีชื่อเรียก
ต่างกัน อาทิ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการตามพระราชดำริ และโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
เป็นต้น
๔. พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งใน
แถบยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย รวม ๓๑ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศกับบรรดามิตรประเทศ
ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความรัก และความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปยังประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้
ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางดียิ่งขึ้น ทรงเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้นานาชาติได้รู้จัก นับเป็นการสร้างเกียรติภูมิให้
กับประเทศชาติ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
พระปรีชาสามารถและพระราชจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์เป็นที่ประทับใจชาวต่างชาติทั่วไปเมื่อครั้งที่เสด็จพระราช
ดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศนั้น ยังผลให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ ในประวัติศาสตร์ ดังที่ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนสดุดีพระองค์ไว้ว่า
"……พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทรงเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของปวงชน การปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์นี้
เป็นเสมือนสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงอดีตเอาไว้นับด้วยหลายศตวรรษ พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นราชปนัดดาของพระเจ้ากรุงสยามในหนังสือที่แหม่มแอนนาเขียนไว้ พระองค์ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทรงรอบรู้เหตุการณ์ ทันสมัยยิ่งนัก…"
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศอีก ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรง
เห็นว่าพระองค์มีพระราชภารกิจที่จะต้องทรงปฏิบัติในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ งานพัฒนาตามโครงการพระราชดำริ
ิต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เอกอัครราชทูต และกงสุลของประเทศต่าง ๆ ที่มาประจำอยู่ในประเทศไทย
ได้เข้าเฝ้าฯ อยู่เป็นประจำ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดา ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ เยือน
ต่างประเทศแทนพระองค์ด้วย
|สรรพศิลปศาสตราธิราช | สาขารัฐศาสตร์|