นอกเหนือจากพระปรีชาญาณในเรื่องความเข้าใจธรรมชาติของ
น้ำที่เชื่อมโยงอยู่กับทรัพยากรดิน และทรัพยากรป่าไม้แล้ว วิสัยทัศน์ของพระองค์ท่านในการกำหนดแนวพระราชดำริการจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของราษฎรที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำเป็นไปอย่างล้ำลึกในการแก้ปัญหาในแต่ละท้องถิ่น ดังเช่น การแก้ไขปัญหาราษฎรชาวไทยภูเขาที่อยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๒๐ ว่า
"การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผน โดยดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมกันสำรวจต้นน้ำและพัฒนาอาชีพราษฎรได้อย่างถูกต้อง สำหรับต้นไม้ที่จะปลูกทดแทนไม้ที่ถูกทำลายนั้น ควรใช้ต้นไม้โตเร็วที่มีประโยชน์หลาย ๆ ทางคละกันไป และควรปลูกพืชคลุมแนวร่องน้ำต่าง ๆ เพื่อยึดผิวดินและให้เก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ นอกจากนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองเพื่อไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งจะทำให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไป ทำความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้นด้วย ในการนี้จะต้องอธิบายให้ราษฎรรู้ว่า การที่ปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงนั้นก็เพราะมีการทำลายต้นน้ำ