พระราชนิยมในศิลปและดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชายไทยและกระจายไปถึง
ชาวต่างประเทศด้วย ทรงศึกษาดนตรีและทรงได้รับการฝึกหัดดนตรีตามแบบฉบับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ผนวกกับพระอัจฉริยภาพทางศิลป จึงมี
ผลให้ทรงมีพระปรีชาในการพระราชนิพนธ์เพลงและทรงบรรเลงเครื่องดนตรีได้เกือบทุกชนิดทรงโปรดดนตรีแบบแจ๊ส
และทรงชำนาญเครื่องเป่าต่าง ๆ จนได้รับการถวายการยกย่องว่าทรงเป่าโซปราโนแซกโซโฟนได้ดีที่สุดในประเทศไทย
ในการสร้างสรรค์ทางดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้มีการตั้งวงดนตรีขึ้น ในระยะแรกทรงตั้งวง "ลายคราม" ต่อมาทรงตั้งวง "อ.ส. วันศุกร์" และทรงสร้างวงแตรวง "สหายพัฒนา" โดยรวมขึ้นจากผู้ปฏิบัติราชการใกล้ชิด นอกจากนี้ ทรงสนับสนุนการ
ดนตรีของนิสิตนักศึกษาทุกระดับ เมื่อมีพระราชวโรกาสก็จะเสด็จไปทรงดนตรีตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นการส่วนพระองค์ทำให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ และทรงมีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงไว้มากถึง 43 เพลง ทั้งเพลงขับร้องและเพลงประกอบการแสดงทุกเพลง ความไพเราะเป็นที่ซาบซึ้งประทับใจของพสกนิกรชาวไทยรวมถึงชาวต่างประเทศด้วย ดังเห็นได้จากการที่วงดนตรี และคณะละครชั้นนำของต่างประเทศได้