

การทำนาใช่เพียงมีที่ดินทำกิน มีเทคนิคการเพาะปลูก และสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยเท่านั้นหากแต่ต้องมีวิธีการผลิตที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก เพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ดังนั้น สำหรับเกษตรกรที่มีฐานะยากจน มีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก จึงไม่สามารถใช้วิธีการผลิตแบบใหม่ได้ ขณะเดียวกันโคและกระบือ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมกลายเป็นสิ่งหายากและมีราคาสูง จากการศึกษาของธนาคารโลก พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกษตรกรร้อยละ ๒๐ ที่ไม่มีโค - กระบือเป็นของตนเอง ต้องเช่าและเสียค่าเช่าในอัตราสูง คิดเป็นข้าวเปลือก ๕๐-๑๐๐ ถังต่อปี บางครั้งผลผลิตได้ก็ไม่เพียงพอที่จะชำระค่าเช่า ทำให้เกษตรกรเกิดภาระหนี้สิน
จากปัญหาดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะจัดตั้งธนาคารโค-กระบือตามพระราชดำริขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางรวมสัตว์ไว้ให้ชาวนาที่ยากจนยืมแม่โคหรือแม่กระบือไปใช้แรงงาน หรือผลิตลูกโคหรือลูกกระบือเพิ่มขึ้น โดยได้มีกระแสพระราชดำรัสแก่คณะผู้รับนมสดสวนจิตรลดา คณะสมาชิกผู้เลี้ยงโคนม และคณะผู้นำกลุ่มสหกรณ์ ณ บริเวณโรงโคนม สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ความว่า
"...เรื่องธนาคารโค-กระบือ เป็นเรื่องที่นับว่าใหม่สำหรับ